วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

แคลิฟอร์เนียว้าว ดาวดับธุรกิจฟิตเน็ต

นายธนกร ตันติสง่าวงศ์ 13570458
นางสาวศรัณยา ตั้งวรเชษฐ์ 13570579


หัวข้อ : อาชญากรรม-ทรัพย์สิน
ประเด็น : การคอรัปชั่น-การยักยอกทรัพย์ของบริษัทต่างๆ ภายในประเทศไทย (กลโกง) โดยการหยิบยกข่าวในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา กรณีบริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด




ในปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดอันดับติดอยู่ในแบล็คลิสต์บัญชีดำประเทศที่มีการฟอกเงินสูง โดยทางคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการมาตรการทางการเงิน Financial Task Force (FATF) รูปแบบการฟอกเงินที่นิยมในประเทศ มีอยู่ 8 ประเภทหลักๆ ซึ่งกรณีของบริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด เป็นไปในรูปแบบตลาดหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์


ติดตามสถานการณ์ย้อนหลังตั้งแต่เริ่มเปิด
แอริค มาร์ค เลวิน ชาวอเมริกัน เข้ามาเปิดกิจฟิตเนสในเมืองไทย ปี 2543 ชื่อ "แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์" ที่อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ บนถนนสีลม ตอนแรกได้รับการตอบรับจากชนชั้นกลาง
แอริค ได้ร่วมลงทุนกับ วิชา พูลวรลักษณ์ ซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในสัดส่วน 51 : 49 ในปี 2546 จากนั้นในปี 2547 เปลี่ยนชื่อเป็น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงปลายปี 2548 โดยมีชื่อย่อว่า CAWOW ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจ
จากนั้นมีการระดมทุนจากตลาดหุ้น แคลิฟอร์เนียว้าว เพื่อทุนเป็น 150 ล้านบาท และขยายสาขาเพิ่มเป็น 10 สาขา และขึ้นเป็นฟิตเนสอันดับ 1  สมาชิกในปีแรกมี 8,500 ราย ในปี  2547 สมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 ราย ต่อมาในปี 2550 มีสมาชิก 1 แสนราย และสูงสุดเมื่อกลางปี 2553 ด้วยยอดสมาชิกถึง 1.6 แสนราย หรือมีผู้ใช้บริการต่อวันถึง 2 หมื่นราย ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก
แต่หลังจากนั้นบริษัทก็ทยอยปิดตัวไปทีละสาขาจนหมด โดยมีทั้งผู้ที่สมัครสมาชิกทั้งรายเดือนและรายปีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
ในปี 2552 วิชาซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ประกาศถอนตัวและทยอยขายหุ้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว จำนวน 53.37 ล้านหุ้น เพราะเกรงว่าจะกระทบกับภาพลักษณ์บริษัทและราคาหุ้นเมเจอร์ จากนั้น คาลิฟอร์เนียว้าว ก็ติดหนี้แบงค์ต่างๆ จนตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศให้ฟื้นฟูกิจการ สิ่งที่น่าตกใจในตอนนั้นคือ แอริคแจ้งลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
หลังปี 2553 แคลิฟอร์เนียว ว้าว ว้าว ให้เหตุผลว่าเป็นผลจากวิกฤติการเมืองในปี 2553 และมหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 บริษัทมีกำไร 29.48 ล้านบาทในปี 2549 เพียงปีเดียว ที่เหลือจากนั้นขาดทุนมาโดยตลอด นับจากปี 2550 - 2554 เป็นต้นมากลับขาดทุนต่อเนื่อง จากขาดทุนสุทธิ 93.68 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น -120.60 ล้านบาท / ปี 2551, - 274.09 ล้านบาท / ปี 2552, -467.36 ล้านบาท / ปี 2553 และ -246.64 ล้านบาท / ปี 2554


เหตุการณ์รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ความคืบหน้าล่าสุด หลัง 2 ปีที่ผ่าน คดีความเงียบหายไป วันที่ 18 ม.ค. 59 ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 1/2559 กรมป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ออกมาแถลงถึง ข้อพิสูจน์และตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของบริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด ย้อนหลังตั้งแต่เปิดกิจการเป็นเวลา 10 ปี พบข้อผิดสังเกต โดยมีการโอนเงินออกภายนอกและภายในประเทศเป็นจำนวนเงิน 1,669,646,457.92 บาท เป็นการโอนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เปิดกิจการ ทั้งๆ ที่ทางบริษัทแจ้งผลขาดทุนมาตลอด รวมถึงในปี 2554 มีการปิดสาขาจำนวนมาก จนในที่สุด บริษัทได้ปิดตัวลง รวมถึงถอดถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ พฤติการณ์ดังกล่าว เข้าข่ายหลอกลวงประชาชน โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจะให้บริการจนครบสัญญา ตามกฎหมายอาญา  มาตรา 343 ตามมาตรา 3(3)และ3(4) เบื้องต้นมีมติอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดรายบริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กพีเรียนซ์ จำกัด (มหาชน) กับพวกไว้ชั่วคราว จำนวน 5 รายการ รวมราคาประเมินทั้งสิ้นประมาณ 88,332,500 บาท ประกอบด้วย
1. ที่ดิน ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จำนวน 12 ไร่ 2 งาน 4 ตารางวา ราคาประเมิน ราคาประเมินไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง 31,750,000 บาท
2.ที่ดินตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จำนวน 1 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา ราคาประเมิน 18,977,500 บาท
3.ที่ดิน ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จำนวน 2 ไร่ ราคาประเมิน 18,750,000 บาท
4.ที่ดิน ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จำนวน 2 ไร่ ราคาประเมิน 18,750,000 บาท
5.ที่ดิน ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จำนวน 4 ตารางวาเศษ ราคาประเมิน 105,000 บาท


วันที่ 23 ม.ค. 59 ผู้เสียหายจากบริษัท แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส ว้าว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ สภาทนายความ ได้ออกพูดถึง ย้ำจุดยืนว่าจะเดินหน้าดำเนินคดีกับ บริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว จำกัด และกรรมการ 9 ราย และเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังพร้อมออกมาตรการเยียวยาผู้เสียหายให้ชัดเจน


จำนวนเม็ดเงินที่ยักยอกทรัพย์ + วิธีการรูปแบบการเคลื่อนย้ายเม็ดเงิน
จำนวนเม็ดเงินที่ได้ทำการตรวจสอบล่าสุด จากกรมป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พบการจัดการของบริษัทที่ผิดสังเกต ตั้งแต่เปิดกิจการ จนกระทั่งปิดกิจการ คิดเป็นร้อยละ 99 เปอร์เซ็นต์ของธุรกรรมที่มีทั้งหมด  ทั้งการถ่ายโอนบัญชีทรัพย์สินภายในและนอกประเทศ รวมถึงเงินเดือนตำแหน่งเก้าอี้ผู้บริหารโดยประมาณ 1 ล้าน 2 แสนบาท ทำให้เห็นถึง ความผิดปกติต่างๆ อย่างชัดเจน ในกรณีนี้ การฟอกเงินของบริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว เป็นไปในรูปแบบผ่านตลาดหลักทรัพย์ (หุ้น) และอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน ที่อยู่อาศัย)


กลุ่มผู้เสียหาย
ในส่วนของผู้ใช้บริการฟิตเนสแคลิฟอร์เนีย ว้าว ที่เสียหาย มีทั้งสมาชิกตลอดชีพและสมาชิกทั่วไป รวมเป็นจำนวนนับแสนราย โดยกลุ่มผู้เสียหายรวมตัวกัน ผ่านทางโซเชียลออนไลน์ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค ที่ใช้ชื่อว่า “รวมตัวกลุ่มผู้เสียหาย California wow ปิดกิจการ” อีกทั้งยังมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ที่เสียไป จากการถูกฉ้อโกง อย่างเช่น การจัดประชุมเสวนา การยื่นฟ้องกรมป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมถึงมูลนิธิผู้บริโภค


กฎหมาย ช่องโหว่
กรณี คดีความที่เกี่ยวข้องกับการยักยอกทรัพย์และฉ้อโกง จะใช้กฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จากการค้นหาข้อมูลเบื้องต้น พบว่า กฎหมายไทยมักจะมี ช่องโหว่ของระยะเวลาการดำเนินคดีความ รวมถึงค่าโทษ การยกเว้น ซึ่งทำให้ผู้ต้องหาสามารถหลีกหนีและถ่ายโอนทรัพย์สินได้


ธุรกิจประเภทเดียวกันที่มีกรณีใกล้เคียง
จากการสืบค้นข้อมูลพบ ฟิตเนสทั่วไป มักมีกลวิธีการโกงผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะจัดโปรโมชั่นเพื่อจูงใจลูกค้า หลังจากที่ลูกค้าทำการสมัครจะถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าข้อตกลง ซึ่งกรณี ของบริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว เป็นในส่วนของการฉ้อโกง ปิดสถานบริการ เช่นเดียวกับกรณีของ ฟิตเนสเอ็กเพลชไทย (สาขาพระรามสอง) ซึ่งมีการโยกย้ายสถานบริการ หลังได้รับเงินจากลูกค้า อีกทั้ง ผู้เสียยังมีการรวมตัวเช่นเดียวกับแคลิฟอร์เนีย ว้าว ทางสื่อสังคมออนไลน์ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค ใช้ชื่อว่า “Fitness express thai โกงเร็ว โกงไว สูญเงินทันใจ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น