วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

สมคบฟอกเงิน-รับของโจร คดีสหกรณ์คลองจั่น



http://crime.tnews.co.th/


คดีฟอกเงินกับ นายศุภชัย กับผู้ที่มีชื่อรับเช็คจำนวน 878 ฉบับ โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ดีเอสไอแยกการสอบสวนออกเป็น 7 กลุ่ม ตามความสัมพันธ์ของธุรกรรมการเงินประกอบด้วย 1.นิติบุคคลที่มีมูลหนี้ต่อกัน 2.วัดพระธรรมกาย 3.สหกรณ์อื่นๆ 4.ผู้ต้องหาและผู้ที่เข้าข่าย 5.บุคคลธรรมดา 6.นายหน้าค้าที่ดิน และ 7.นิติบุคคลที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน
           
สำหรับกลุ่มที่จะถูกดำเนินคดีข้อหารับของโจรและฟอกเงินนั้น อยู่ในกลุ่มบุคคลและกลุ่มนิติบุคคลใน 7 กลุ่ม ที่รับเช็คจากสหกรณ์รวมเป็นเงินราว 7,000-8,000 ล้านบาท และเป็นกลุ่มที่รับเช็คโดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ซึ่งรวมถึงกลุ่มวัดพระธรรมกายและเครือข่ายที่มีการรับบริจาคโดยไม่มีมูลหนี้รวมกว่า 2,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินบริจาคให้วัดผ่านบัญชี พระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย จำนวนประมาณ 800 ล้านบาท และพระรูปอื่นในเครือข่ายวัดธรรมกายประมาณ 20 รูป ที่ได้รับเช็คจาก นายศุภชัย อีกรวมประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งดีเอสไอจะพิจารณาสอบสวนหาความจริงต่อไปเพื่อดำเนินการตามที่ทางอัยการได้สั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม และหากพบว่ามีทรัพย์สินที่ได้จากการยักยอกสหกรณ์หลงเหลืออยู่กับบุคคลใด พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสั่งยึดอายัดทันที

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินการธนาคาร  กรมสอบสวนคดีพิเศษ หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ในคดีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่นกับพวก 8 คน ยักยอกทรัพย์ สหกรณ์ฯมูลค่าความเสียหายกว่า 16,000 ล้านบาท ได้ออกหมายเรียกพระเทพญาณมหามุณี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย ผู้ต้องหาในฐานความผิดฐานสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร โดยให้พระพระเทพญาณมหามุณี

ก่อนหน้านี้คดีนี้อยู่ในความรับผิดชองของ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดี และได้ออกหมายเรียกพระเทพญาณมหามุณี และกลุ่มพระในวัดพระธรรมกายที่มีรายชื่อปรากฎรับเช็คจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น เข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน โดยมีการจัดลำดับการเข้าให้ปากคำ เริ่มจากวันที่ 10 มี.ค.เป็นต้นไป     แต่ยังไม่ได้สอบในส่วนที่พระธัมมชโย มีชื่อรับเช็คด้วยตนเอง เพราะ ส่งทนายมาแทน ซึ่งดีเอสไอ ต้องการสอบในส่วนที่พระธัมมชโยมีชื่อรับเช็คเอง

สำหรับเช็คที่ตรวจสอบพบนายศุภชัย อ้างว่าบริจาคให้วัดพระธรรมกาย มี 15 ฉบับ มูลค่ากว่า 800 ล้านบาท โดยพนักงานสอบสวนดีเอสไอชุดเดิมสรุปไว้ว่า พระธัมมชโยยอมรับว่ารับเช็ค 13 ฉบับ จากการตรวจสอบพบเช็คบางฉบับมีการสลักหลังและโอนเงินหลักร้อยล้านบาทกลับไปยังบัญชีบุคคลอื่นแทน

ทั้งนี้ รายชื่อ กลุ่มพระที่มีชื่อเป็นผู้รับโอนเงินจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ เช่นทิ พระวิรัช 100 ล้านบาท พระมนตรี 100 ล้านบาท พระครูปลัดวิจารณ์ฯ 119 ล้านบาท

คดีสหกรณ์คลองจั่น ณ ตอนนี้ อยู่ในขั้นตอนดำเนินการเรียกตัวผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มาทำการสอบสวน เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
สมคบฟอกเงิน-รับของโจร คดีสหกรณ์คลองจั่น

คดีฟอกเงินกับ นายศุภชัย กับผู้ที่มีชื่อรับเช็คจำนวน 878 ฉบับ โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ดีเอสไอแยกการสอบสวนออกเป็น 7 กลุ่ม ตามความสัมพันธ์ของธุรกรรมการเงินประกอบด้วย 1.นิติบุคคลที่มีมูลหนี้ต่อกัน 2.วัดพระธรรมกาย 3.สหกรณ์อื่นๆ 4.ผู้ต้องหาและผู้ที่เข้าข่าย 5.บุคคลธรรมดา 6.นายหน้าค้าที่ดิน และ 7.นิติบุคคลที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน

สำหรับกลุ่มที่จะถูกดำเนินคดีข้อหารับของโจรและฟอกเงินนั้น อยู่ในกลุ่มบุคคลและกลุ่มนิติบุคคลใน 7 กลุ่ม ที่รับเช็คจากสหกรณ์รวมเป็นเงินราว 7,000-8,000 ล้านบาท และเป็นกลุ่มที่รับเช็คโดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ซึ่งรวมถึงกลุ่มวัดพระธรรมกายและเครือข่ายที่มีการรับบริจาคโดยไม่มีมูลหนี้รวมกว่า 2,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินบริจาคให้วัดผ่านบัญชี พระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย จำนวนประมาณ 800 ล้านบาท และพระรูปอื่นในเครือข่ายวัดธรรมกายประมาณ 20 รูป ที่ได้รับเช็คจาก นายศุภชัย อีกรวมประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งดีเอสไอจะพิจารณาสอบสวนหาความจริงต่อไปเพื่อดำเนินการตามที่ทางอัยการได้สั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม และหากพบว่ามีทรัพย์สินที่ได้จากการยักยอกสหกรณ์หลงเหลืออยู่กับบุคคลใด พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสั่งยึดอายัดทันที

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินการธนาคาร  กรมสอบสวนคดีพิเศษ หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ในคดีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่นกับพวก 8 คน ยักยอกทรัพย์ สหกรณ์ฯมูลค่าความเสียหายกว่า 16,000 ล้านบาท ได้ออกหมายเรียกพระเทพญาณมหามุณี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย ผู้ต้องหาในฐานความผิดฐานสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร โดยให้พระพระเทพญาณมหามุณี

ก่อนหน้านี้คดีนี้อยู่ในความรับผิดชองของ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดี และได้ออกหมายเรียกพระเทพญาณมหามุณี และกลุ่มพระในวัดพระธรรมกายที่มีรายชื่อปรากฎรับเช็คจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น เข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน โดยมีการจัดลำดับการเข้าให้ปากคำ เริ่มจากวันที่ 10 มี.ค.เป็นต้นไป     แต่ยังไม่ได้สอบในส่วนที่พระธัมมชโย มีชื่อรับเช็คด้วยตนเอง เพราะ ส่งทนายมาแทน ซึ่งดีเอสไอ ต้องการสอบในส่วนที่พระธัมมชโยมีชื่อรับเช็คเอง

สำหรับเช็คที่ตรวจสอบพบนายศุภชัย อ้างว่าบริจาคให้วัดพระธรรมกาย มี 15 ฉบับ มูลค่ากว่า 800 ล้านบาท โดยพนักงานสอบสวนดีเอสไอชุดเดิมสรุปไว้ว่า พระธัมมชโยยอมรับว่ารับเช็ค 13 ฉบับ จากการตรวจสอบพบเช็คบางฉบับมีการสลักหลังและโอนเงินหลักร้อยล้านบาทกลับไปยังบัญชีบุคคลอื่นแทน

ทั้งนี้ รายชื่อ กลุ่มพระที่มีชื่อเป็นผู้รับโอนเงินจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ เช่นทิ พระวิรัช 100 ล้านบาท พระมนตรี 100 ล้านบาท พระครูปลัดวิจารณ์ฯ 119 ล้านบาท

คดีสหกรณ์คลองจั่น ณ ตอนนี้ อยู่ในขั้นตอนดำเนินการเรียกตัวผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มาทำการสอบสวน เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

คดีความฉ้อโกง บริษัทชาร์มมิ่งเวย์อินเตอร์เนชั่นแนล


http://www.chamethailand.com

บริษัทชาร์มมิ่งเวย์อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัททำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องสำอาง โดยมีการวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป ภายใต้ผลิตภัณฑ์ ชาร์เม่ โดยการ์ตูน อินทิรา เกตุสวรสุนทร และ เชียร์-ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ ดำรงตำแห่งผู้บริหาร


บริษัทชาร์มมิ่งเวย์อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เข้าแจ้งความครั้งที่สอง ในส่วนของคดีความฉ้อโกง เหตุเกิดจากการขยายตัวของทางบริษัท ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถดูแลและตรวจสอบบุคคลากรภายในบริษัทได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้มีการยักยอกทรัพย์เกิดขึ้น เนื่องมาจากเกิดการเพิ่มตัวของดีลเลอร์ หรือที่เรียกกันว่า ตัวแทนจำหน่ายนับเป็นพันๆ ราย ก่อให้เกิดการตรวจสอบบัญชียากขึ้น


http://www.chamethailand.com

ปัญหาในครั้งนี้ ซับซ้อนตรงที่ว่า บริษัทส่วนใหญ่ จะมีตัวแทนพนักงานที่คอยควบคุมดูแลตัวแทนจำหน่ายแต่ละคน ไม่ได้ขึ้นตรงกับบริษัท เว้นแต่เป็นตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถทราบได้ถึงตัวเลขบัญชีที่แจ้งเข้า-ออก โดยตรง ต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบยาวนานกว่าบัญชีปกติ


การตรวจสอบบัญชีที่ยาวนานนั้น จึงเป็นเหตุให้เกิดช่องโหว่ในการยักยอกทรัพย์สินบริษัท โดยส่วนใหญ่จะพบได้ จากบริษัทที่มีการเปิดกิจการใหม่ เนื่องจากฐานระบบของบริษัทยังคงไม่เสถียร


รวมถึงกรณีนี้ ซึ่งมีการร่วมมือกันเป็นกลุ่มเครือข่ายระหว่างพนักงานฝ่ายขายในบริษัทคนอื่นๆ ด้วย โดยทำเป็นขบวนการจากเดิมที่แจ้งดำเนินคดีความเพียง 1 ราย เพิ่มเป็น 3 ราย และคาดการณ์ว่า จะมีผู้ร่วมขบวนการมากกว่านี้อีกแน่นอน


เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา ทางผู้เสียหายได้มีการเจรจากับผู้ต้องหาเป็นส่วนตัว แต่กลับไม่ได้มีการทำข้อตกลง จึงจำเป็นให้มีการแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย เพื่อสอบสวนและขยายผล รวมถึงเพื่อการติดตามมูลค่าทรัพย์สินที่หายไปด้วย


ณ ตอนนี้ ความคืบหน้าขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นรวบรวมหลักฐาน ไปถึงขั้นตอนส่งฟ้องคดีความศาลอาญา เพื่อดำเนินการต่อไป โดยผลการตัดสินจะออกมาในรูปแบบไหน ขึ้นอยู่กับทางอัยการจะพิจารณาคดีตามกฎหมาย


ทางบริษัทชาร์มมิ่งเวย์อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ทำการเปิดกิจการมาเป็นระยะเวลา 5 ปี แต่ไม่เคยประสบปัญหาดังกล่าว เพิ่งจะมีกรณีนี้เกิดขึ้น ด้วยการเติบโตของทางธุรกิจที่มีการก้าวกระโดด จึงทำให้การติดตามรัดกุมตรวจสอบบัญชียากขึ้น


อุทาหรณ์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความขาดการรัดกุมของบริษัทที่มีการดำเนินการขยายฐานธุรกิจใหญ่ขึ้น จนมองข้ามการตรวจสอบภายใน เหตุการณ์เช่นนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น


แต่อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทชาร์มมิ่งเวย์อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกมายืนยันว่า ปัญหาครั้งนี้เป็นแค่ส่วนเล็ก ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพคล่องทางบริษัทอย่างแน่นอน


วิธีการป้องกันปัญหาการฉ้อโกงภายในบริษัท หรือภายในองค์กร สามารถทำได้โดยเพียงแค่มีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ ทั้งในส่วนบัญชีเข้า-ออก รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรบุคคลากรภายในบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงต่อการยักยอกทรัพย์


เมื่อพูดถึงเรื่องการทุจริต หลายคนก็นึกถึงนักการเมือง แต่หากการฉ้อโกง ทุจริตนี้ แทรกซ้อนอยู่ในแทบทุกระดับของสังคมไทย อาจเพราะด้วยระบบสังคมที่เป็นอุปถัมภ์หรือมีช่องโหว่ที่เอื้อต่อการกระทำผิด  หากจะแก้ปัญหาการทุจริต-ฉ้อโกง ที่ยั่งยืนนั้น ควรต้องแก้ไขปัญหานี้ ในระดับล่างไปจนระดับใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดการเรื้อรัง




วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

เซนติเมตรในใจของเรามันกว้างไม่เท่ากัน





องค์กรอิสระ หมายถึง องค์กรใด ๆ ที่มีความอิสระในการทำงานตามภาระหน้าที่ของตนโดยไม่ถูกครอบงำ หรือสั่งการ ขององค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นใด และไม่อยู่ในภายใต้บังคับของกฎข้อบังคับที่ออกโดยบุคคลหรือองค์กรอื่น


หากมองพิจารณาถึงการทำงานขององค์กรอิสระต่างๆ ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริต-คอรัปชั่น จะพบว่า มาตรฐานในการตัดสินคดีความแต่ละคดีจะมีความแตกต่างกันไป บ้างก็เห็นชอบ บ้างก็ว่าไม่เห็นชอบ ทั้งๆ ที่รูปคดีมีความเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด


เป็นไปได้ไหมว่า มาตรฐานในการตัดสินมีมากกว่าหนึ่ง ?? 
ที่ผ่านมา คดีความจำพวกนี้ มักมีอยู่ให้เห็นบ่อยครั้ง แต่แล้วการตัดสินที่เป็นไปในคนละทิศทาง จึงทำให้คนในสังคมต่างตั้งคำถามถึงข้อสงสัยที่ว่า มาตรฐานแท้จริงแล้วอยู่ตรงไหน


แน่นอน คนเราทุกคนต่างมีไม้บรรทัดคนละหนึ่งอัน และหน่วยวัดของคนเราก็ไม่เท่ากันเช่นกัน แล้วจุดไหนที่จะทำให้คนในสังคมเชื่อมั่นได้ว่า องค์กรอิสระเหล่านี้ มีความเที่ยงธรรม มีมาตรฐานอย่างแท้จริง


องค์กรปราบปรามการทุจริต-คอรัปชั่น ต้องเป็นองค์กรอิสระจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ใช้คำว่า “อิสระ” มาเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเที่ยงธรรม ความมีมาตรฐาน


ในบางยุคนั้น องค์กรอิสระก็ “เหมือน” มีอิสระจริงๆ บางยุคก็ “เหมือน” เป็นใบ้ ไม่สามารถทำอะไรได้ ง่ายๆ คือ เหมือนออกอาวุธไม่ได้ ออกอาวุธไม่เต็มที่


หรือว่า องค์กรอิสระเหล่านี้ ถูกครอบงำภายใต้เงื่อนไขอะไรบางอย่าง ??
องค์กรอิสระนั้น ในทางนิตินัยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ในทางพฤตินัยอยู่ภายใต้หน่วยงานรัฐบาล นักการเมือง

สรุป ให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ มีอำนาจหน้าที่แค่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งตกอยู่ภายใต้กลุ่มอำนาจใน ณ ช่วงเวลาขณะนั้น

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

คดีไร่ส้มสะท้อนสังคม


       ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คดีความบริษัทไร่ส้ม-สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวชื่อดัง เป็นกรณีที่สังคมต่างจับจ้องเป็นอย่างมาก ซึ่งทุกฝ่ายต่างมีความเห็นที่แตกต่างกันไป

http://www.dailynews.co.th

       ในทางกฎหมาย การกระทำของนายสรยุทธถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมาย ในคดีความยักยอกทรัพย์ ส่วนนี้ ผิดก็ว่าไปตามผิด ณ ตอนนี้ก็ยังถือว่า ยังไม่ถึงที่สุด เพราะสามารถสู้คดีความต่อได้

       ส่วนนี้ ผมก็จะขอพูดถึงการยักยอก+เวลา ครั้งนี้ ทาง อสมท. เป็นภาครัฐวิสาหกิจที่มีเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยก็ คือ การยักยอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อย่างไรก็ตามก็ต้องรอการตัดสินพิจารณาคดีกันต่อไป

       จากการสืบค้นข้อมูลย้อนหลังในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา พบว่า ทางบริษัทไร่ส้มนี้มีเจตนาตั้งต้นแต่แรกอยู่แล้ว โดยทางนายสรยุทธเองก็รู้ถึงความผิดที่จะเกิดขึ้น เพราะ นายสรยุทธได้เรียนทางด้านกฎหมาย แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวจึงเข้ารับตำแหน่งเก้าอี้ประธานบริษัท

       วิธีการโกงโฆษณานั้น คือ การแทรกแซงในส่วนเล็กส่วนน้อย โดยมีวิธีการปรับเพิ่มโฆษณาทีละนิด ในปี 2548-2549  ซึ่งรวมๆแล้วก็ถือว่า เป็นเม็ดเงินที่มีความเสียหายสูง กว่า 138 ล้านบาท

       ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ผมได้คุยกับบริษัทบัญชีและทางบริษัทการค้า รวมถึงด้านกฎหมาย ทุกคนต่างพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้ มีความเห็นที่แตกต่างกันไป โดยหลักๆ ก็เห็นตรงกันว่า มีความผิดจริง

       ประเด็นร้อนที่คนในแวดวงสังคมธุรกิจพูดกัน คือ หน่วยงานปราบปรามคอรัปชั่นต่างๆ ณ ตอนนี้ มีความกระตือรือร้นเป็นพิเศษ กว่าช่วงปกติไปหรือเปล่า แท้ที่จริงคดีความชุดนี้ ถูกตั้งใจหยิบยกขึ้นมาเพื่อสร้างผลงานชิ้นโบว์แดง ช่วยลบล้างข้อบกพร่องที่ผ่านมาของหน่วยงานต่างๆ โดยทางปปช.เตรียมยื่นฟ้องในคดีนี้เอง หลังอัยการสูงสุด ตีกลับสำนวนคดีนี้

      วาทกรรมชิ้นใหญ่จากกระแสโจมตีของนายสรยุทธ มีส่วนเอี่ยวมาเกี่ยวข้องก็อยู่ 2 อย่างที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือ เสื้อเหลือง-เสื้อแดง และวาทกรรมเบื้องหลังการล้มขั้วอำนาจสื่อ

       ผมคิดว่า ต้นไม้ยิ่งใหญ่ เวลาลมพายุโหมมาก็ย่อมมากและแรงเป็นธรรมดา โดยตัวนายสรยุทธก็เป็นบุคคลสำคัญของทางช่อง 3 รวมถึงเป็นที่ยอมรับของสังคม มีทั้งผู้ที่ชื่นชอบและไม่ชื่นชอบเป็นธรรมดา

       ส่วนนี้ คิดว่า การทำหน้าที่ของสื่อของทางนายสรยุทธก็สามารถมีการดำเนินต่อไปได้ เพราะ มองในมุมของการกระทำความผิดยักยอกทรัพย์ แต่ทางด้านสื่อนี้มองว่า ไม่มีความผิด แต่ที่ด้วยเหตุผลการลาออกของนายสรยุทธ เป็นเพราะ ถูกกระแสสังคมกดดัน

       อีกทั้ง การทำงานก็สามารถทำต่อไปได้ เพราะ คดีความยังไม่สิ้นสุด แต่หากบอกว่า ทำไม่ได้เพราะอะไร?? การที่เราจะวัดชั่งน้ำหนักต่างๆ เราต้องอยู่ในฐานของความเป็นจริง

       สมมติถ้านายสรยุทธเปิดร้านขายข้าวแต่ยักยอกทรัพย์ เพียงเท่านี้ก็ต้องปิดร้านแล้วจริงหรือ?? ผิดจรรยาบรรณพ่อค้าแม่ค้าแล้วหรือ??

       แต่สิ่งที่ได้เพิ่มเติม นำมาสู่การขบคิดและตั้งคำถามเพื่อต่อยอด ผมเห็นถึง ช่องโหว่ ที่ว่าด้วย องค์กรอิสระเหล่านี้ อิสระจริงๆหรือเปล่า ก็ได้ไปค้นหาพบว่า มีบทความที่น่าสนใจอยู่ชิ้นหนึ่งที่พูดถึง อิงค์กรอิสระซึ่งมันไม่เป็นอิสระจริงๆ อย่างที่เราๆ เห็นกันอยู่ เพียงแค่สร้างขึ้นมาบดบังเท่านั้น เพราะ องค์กรเหล่านี้ก็ไม่สามารถมีใครตรวจสอบได้ จะมีก็แต่การตรวจสอบกันเอง รวมถึง ก็ยังคงเป็นทาสเงินของรัฐบาลอยู่ดีไม่ใช่หรือ??

       ถ้าเอากันจริงๆ องค์กรอิสระ มีจุดประสงค์สร้างขึ้นเพื่อไม่ให้มีความผิด เพื่อให้ทุกคนเชื่อมั่น ไม่สามารถเห็นต่างได้ เหมือนเป็นความคิดที่ว่า อิสระไม่มีคนควบคุมเป็นกลางอะไรทำนองนั้น

       มองย้อนไปก็จะเห็นถึง มาตรฐานที่ไม่เป็นธรรม ขนาดหน่วยงานที่ได้ชื่อว่า อิสระยังไม่มีความยุติธรรม จะให้มองว่าอิสระก็คงยาก จากการกระทำที่ผ่านๆ มา

      อย่างกรณีเขายายเที่ยง ชาวบ้านตีนเขาถูกจับโดนข้อหาไรต่อมิไร ส่วนทางนายสุรยุทธ ได้การ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ได้มีเจตนาบุกรุกผืนป่า (แต่ก็สร้างเสร็จแล้วอยู่บนยอดเขา)

        อีกกรณีนึง ที่เพิ่งผ่านไปไม่นานนี้ คดีความรถหรูของสมเด็จช่วง เรื่องนี้เองก็ได้เงียบลงไปแล้ว เนื่องจาก คดีความพลิก ความผิดก็ตกไปอยู่ที่ช่างประกอบรถหรูคันดังกล่าวเรียบร้อย โดยทางทนายความคนใหม่ได้แจ้งและส่งเรื่องต่อ DSI ว่า สมเด็จช่วงไม่ได้เป็นเจ้าของโดยมีคนส่งมอบให้ซึ่งเป็นพระผู้น้อย โดยได้สั่งประกอบจากช่าง ซึ่ง ณ ตอนนี้ ความผิดก็ตกไปอยู่ที่ช่างซึ่งเป็นคนประกอบรถ เอาง่ายๆ ก็คือ ประกอบมาได้อย่างไรรถที่ไม่มีใบอนุญาติ

       ผมมองว่า เรื่องพวกนี้ ความถูกความผิด มันก็ไม่มีอะไรแน่นอน กระดูกเบอร์ใหญ่กว่าก็รอดแค่นั้น ซึ่งกรณีนี้ ก็ถูกยกมาโจมตีจาก เรื่องพระเสื้อเหลือง-เสื้อแดง กันแหละ จริงๆ ไม่มีอะไรมาก เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่กินกันไม่ลง

       อีกอย่างหนึ่ง กฎหมายที่เขียนขึ้นนั้น มันย่อมมีช่องโหว่เป็นธรรมดาไม่ว่าจะของประเทศอะไรก็ตาม ที่ถูกเขียนขึ้นให้มีช่องโหว่นั้น อาจเป็นเพราะทางหน่วยงานต่างๆ ตามไม่ทัน หรือจะด้วยเหตุผลที่ว่า เอื้อต่อการทุจริต แต่ด้วยหลักฐานที่ไม่เพียงพอ ก็ทำให้สังคมไม่สามารถโต้แย้งไรได้มาก

       จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ก็มีอะไรให้น่าขบคิดต่อยอด เกี่ยวกับการทำงานขององค์กรต่างๆ เหล่านี้


วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความเคลื่อนไหว สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กับการประชุมครั้งที่ 3/59



       เมื่อวันที่ 26 ก.พ. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. แถลงผลการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 3/2559 มีทั้งหมด 4 ประเด็น

       ประเด็นที่ 1 คณะกรรมการธุรกรรมมีมติให้ยึดทรัพย์เจ้าของบ่อนพิษณุโลก 92 ล้านบาท สืบเนื่องจาก ปปง. ตรวจสอบทรัพย์สินกรณีการตรวจยึดทรัพย์สินทางพัณณ์ชิตา หีบนาค กับพวก ตามพ.ร.บ.ฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันและฟอกเงิน เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2557 ที่โรงแรมจัสมินรีสอร์ท เลขที่ 7/105 ถ.พระร่วง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก สำหรับทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน คือ พระเหลี่ยมทองคำ เครื่องประดับทองคำ เงินในบัญชีธานาคาร และที่ดินตามโฉนดที่ดินใน จ.พิษณุโลก รวม 344 รายการ มูลค่าประมาณ 92 ล้านบาท
       ประเด็นที่ 2 อายัดทรัพย์สินของพ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา กับพวก เพิ่มเติม 2.7 ล้านบาท ซึ่งทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นบัญชีธนาคารเงินสดที่เราตรวจพบเพิ่มเติม ส่วนหนึ่งเป็นของนายคชาชาติ บุญดี หรือเสธ.โจ้ ด้วย โดยบางบัญชีพบมีเงินหลักแสนบาทขึ้นไป ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่ทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้นเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น คณะกรรมการจึงมีมติให้อายัดทรัพย์สินดังกล่าว
       ประเด็นที่ 3 คุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย คืนทรัพย์ให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กว่า 800 ล้านบาท จากการที่ สกสค. ได้รับความเสียหายจากกรณี นายเกษม กลั่นยิ่ง กับพวก มีพฤติการณ์ในการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่อนุมัติเงินกองทุนของ สกสค. ให้กับบริษัท บิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด กู้ยืมโดยไม่มีหลักประกัน คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีมติอายัดทรัพย์ในคดีดังกล่าว ทั้งนี้ ต่อมา สกสค. ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ได้ยื่นเรื่องขอคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายตาม ม.49 วรรค 6 แห่งพ.ร.บ.ฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กรณีปรากฎหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวการกระทำความผิด ให้เลขาธิการ ปปง. ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณา เพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินโดยเร็ว
       ประเด็นที่ 4 แบบคำร้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งนำให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายในความผิดฐาน ตามพ.ร.บ.ฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2558 มีการแก้ไขสาระเพิ่มเติมในเรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย ซึ่งเดิม ปปง. จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน แต่ในพ.ร.บ.ฟอกเงินฉบับล่าสุด ปปง.สามารถขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายทีไ่ด้รับความเดือดร้อนได้อย่างรวดเร็ว เช่น กรณี สกสค. ทำเรื่องคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายมายัง ปปง. เพื่อให้นำทรัพย์ที่ ปปง. ยึดทรัพย์ไว้คืนให้กับ สกสค. ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรง
      ทั้งนี้ ปปง. ดำเนินการจัดทำแบบคำร้อง เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้เสียหายทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซด์ ปปง. www.amlo.go.th หรือมารับได้ที่ ปปง. ทั้งนี้ ผู้เสียหายที่เป็นชาวต่างชาติสามารถโหลดแบบคำร้องเป็นภาษาอังกฤษได้ที่ช่องทางติดต่อเดียวกัน แต่ต้องแปล็นภาษาไทยและรับรองเอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือโนตารี พับลิค พร้อมแนบหลักฐานที่ใช้ประกอบยื่นคำร้องด้วย
       สรุป รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ทำการประชุมคณะกรรม สรุปผล เกี่ยวกับความคืบหน้าในคดีความเจ้าของบ่อนพิษณุโลกในฐานความผิดฟอกเงิน และคดีความของ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา กับพวก รวมถึงชี้แจงในกรณีการขอคืนสิทธิผู้เสียหายจากคดีความการฟอกเงิน
       สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับความคดีความต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตและฟอกเงิน โดยจะมีการจัดวาระแถลงผลการประชุมคณะกรรมในครั้งถัดไป เนื่องจาก คดีความแต่ละส่วนต้องใช้เวลาในการพิจารณาและตรวจสอบ รวมถึงรอระยะเวลาการตัดสินคดี เพื่อดำเนินงานต่อไป ซึ่งอาจจะใช้เวลานานในการดำเนินคดี
       อย่างกรณี ที่เคยหยิบยก บริษัท แคลิฟอร์เนียว้าว จำกัด ณ ตอนนี้ ได้มีความคืบหน้าอยู่ในช่วงตัดสินพิจารณาคดีความและตรวจสอบ เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ต่อไป ส่วนการเฉลี่ยสินทรัพย์แก่ทางผู้เสียหาย ขึ้นอยู่กับตัวผู้เสียหายที่ทำแบบคำร้องจัดส่งมา
        ปีที่ผ่านมา 2558 มีรายการคดีความทั้งสิ้น 204 คดี ได้มีการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
        ในปี 2559 มีรายการคดีความทั้งสิ้น 27 คดี ซึ่งอยู่ในระหว่างการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ซึ่งมีกรณีการยกเลิก 1 คดีความ และดำเนินการไปอายัดทรัพย์สินชั่วคราวไปแล้ว 13 คดีความ
       ส่วนใหญ่ ความผิดจะตกอยู่ในฐานพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
        มาตรา ๓ (๑) ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายวาดวยการปองกันและปราบปรามยาเสพติด หรือกฎหมายวาดวยมาตรการในการปราบปรามผูกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
       มาตรา ๓ (๙) ความผิดเกี่ยวกับการพนันตามกฎหมายวาดวยการพนัน เฉพาะความผิดเกี่ยวกับการเปน ผูจัดใหมีการเลนการพนันโดยไมไดรับอนุญาต และมีจํานวนผูเขาเลนหรือเขาพนันในการเลนแตละครั้งเกินกวา หนึ่งรอยคน หรือมีวงเงินในการกระทําความผิดรวมกันมีมูลคาเกินกวาสิบลานบาทขึ้นไป
       มาตรา ๓ (๑๘) ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพยกรรโชก รีดเอาทรัพยชิงทรัพยปลนทรัพยฉอโกง หรือยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเปนปกติธุระ

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คดีรถหรู “สมเด็จช่วง”

ลำดับเหตุการณ์
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม บอกว่า ผลการตรวจสอบรถเบนซ์ หมายเลขทะเบียนขม.99 ที่มีชื่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จฯช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ครอบครอง ได้รับรายงานสรุปผลการตรวจสอบจาก พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่รายงานเข้ามาแล้ว โดยผลสอบพบว่ารถยนต์ผิดกฎหมาย


http://www.dailynews.co.th/
  

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม บอกว่า กรณีที่รถผิดกฎหมายแล้วผู้ครอบครองจะมีความผิดด้วยหรือไม่ เป็นเรื่องของขั้นตอนที่ต้องดำเนินการหลังจากนี้ว่าได้รู้หรือจงใจหรือไม่ เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ที่ผ่านมาดีเอสไอได้รายงานผลการทำงานให้ทราบเป็นระยะ เพราะรถคันนี้ เป็นหนึ่งในรถที่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อรถจดประกอบที่ดีเอสไอตรวจสอบ เกี่ยวกับกรณีการหลีกเลี่ยงภาษี และมีการส่งข้อมูลรถยนต์บางส่วนให้กรมศุลกากรประเมินภาษีในส่วนที่ชำระไว้ไม่ครบ
ก่อนหน้านี้ ดีเอสไอรับเรื่องคดีการครอบครองรถหรู ตั้งแต่ปี 2556 เป็นคดีพิเศษ โดยได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีราคาเกิน 4 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 500 คัน และกลุ่มที่มีราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาท มีจำนวนกว่า 5,000 คัน ที่ผ่านมาได้ดำเนินการตรวจสอบในกลุ่มแรกไปก่อนแล้ว
โดยกลุ่มที่ราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ ของสมเด็จช่วง รวมอยู่ด้วย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบ โดยมีการร้องเรียนดีเอสไอ และได้ประสานไปยังกรมศุลกากรเพื่อขอข้อมูลในการนำเข้าชิ้นส่วนของรถจดประกอบ ซึ่งรถของสมเด็จวัดปากน้ำได้จดทะเบียนเป็นผู้ครอบครองเป็นคนแรก แต่ปัจจุบันได้แจ้งยกเลิกใช้งานรถคันนี้แล้ว และถูกนำเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เป็นของสะสม
พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ รองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เผยขั้นตอนการนำเข้ารถหรูของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (สมเด็จช่วง) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ  ระบุ รถหรูสมเด็จช่วง ทั้งตัวถัง-เครื่องยนต์-อุปกรณ์สวนควบ-จดประกอบ-แจ้งสรรพกร มีการใช้เอกสารปลอมทั้งหมด ขณะที่อู่รถยนต์ประกอบรถ ไม่มีใบอนุญาตประกอบรถ ส่วนผู้ถวายรถดังกล่าวให้สมเด็จช่วงยอมรับ กับพนักงานสอบสวนแล้วว่า เป็นผู้ถวายจริงแต่ต้องรอสอบเรื่องเจตนาของสมเด็จช่วงว่ารู้หรือไม่ว่าเป็นรถยนต์ที่นำเข้ามาไม่ถูกกฎหมาย
กรมสอบสวนคดีพิเศษ ( ดีเอสไอ ) - 20 ก.พ. 59 พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงการดำเนินการภายหลังตรวจพบรถเบนซ์ทะเบียนขม. 99 กรุงเทพมหานคร ของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือ สมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นรถผิดกฏหมายว่า ตามกฎหมายเมื่อสืบทราบว่ารถดังกล่าวเป็นรถผิดกฏหมายก็ต้องยึดไว้เป็นของกลางในคดี โดยในวันอังคารที่ 23 ก.พ.นี้ ตนจะลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวน เพื่อโอนสำนวนคดีในชั้นสืบสวนจากพ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร ผบ.สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ไปให้พ.ต.ท.อนุรักษ์ โรจนนิรันดร์กิจ ผบ.สำนักคดีภาษีอากร เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนชุดใหม่  พร้อมกับจะมีหนังสือแจ้งผลการสืบสวนทั้งหมดไปยังวัดปากน้ำฯและขอนัดเข้าสอบปากคำสมเด็จฯช่วง เกี่ยวกับรายละเอียดในการครอบครองรถ และการเซ็นซื่อในเอกสารการโอนรถยนต์
ฝ่ายกฎหมายวัดปากน้ำภาษีเจริญ ศุภภัทร์พจน์ นิติศศธร บอกถึงกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เตรียมขอยึดรถเบนซ์โบราณ ของสมเด็จช่วง ซึ่งเป็นรถผิดกฎหมายเพื่อนำไปตรวจสอบ ว่า วัดจะไม่มอบรถคันนี้ให้ดีเอสไอ เพราะเห็นว่าจะไม่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของสมเด็จช่วง หากทำตามเท่ากับเป็นการตอกย้ำ และ ยอมรับความผิดที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าสมเด็จช่วง มีความประสงค์จะไม่ขอรับรถคันนี้ไว้แล้ว เป็นเพียงกระแสข่าวลือเท่านั้น
ฝ่ายกฎหมายวัดปากน้ำภาษีเจริญ ย้ำอีกว่า วัดปากน้ำไม่มีปัญหากับการดำเนินการตามกฎหมาย แต่ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งมาอย่างเป็นทางการ ก็พร้อมปฏิบัติตาม เพราะที่ผ่านมาได้ยืนยันมาตลอดว่าสมเด็จช่วง ครอบครองรถโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นของผิดกฎหมาย
นายศุภภัทร์พจน์ นิติศศธร บอกว่า กรณีมีกระแสข่าววัดปากน้ำภาษีเจริญไม่ยินยอมให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)เข้ามาอายัดรถเบนซ์โบราณที่อยู่ในความครอบครองของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เพื่อเป็นของกลางนั้น ขอยืนยันเมื่อดีเอสไอมีหนังสือแจ้งมา วัดก็พร้อมปฏิบัติตามนั้น หากจะเข้ามาอายัดรถก็ยินดีให้ดำเนินการ แต่ขณะนี้หนังสือยังไม่ได้มาถึงวัด
ส่วนกรณีดีเอสไอจะสอบถามข้อมูลจากสมเด็จฯและพระมหาศาสนมุนีหรือหลวงพี่แป๊ะกรณีสมเด็จฯเป็นผู้ครอบครองรถนั้น ขณะนี้ดีเอสไอยังไม่ได้มีหนังสือแจ้งเข้ามายังวัดคาดว่าน่าจะมีหนังสือแจ้งมา 23 ก.พ.นี้ ส่วนจะสอบถามข้อมูลจากสมเด็จฯและหลวงพี่แป๊ะโดยตรงหรือไม่นั้นยังไม่ทราบ จะต้องรอหนังสือมาถึงวัดก่อน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รถหรูที่มีการประกอบขึ้นภายในประเทศไทยนั้นถือว่า เป็นใบทะเบียนปลอมทั้งสิ้น เนื่องจาก ได้มีคำสั่งยกเลิกการจดทะเบียนใบประกอบในช่วงปี 2556 แม้การนำเข้ารถจดประกอบจะ “ปิดฉาก” ลงไปแล้ว แต่การดำเนินคดีของดีเอสไอยังไม่จบ รถจดประกอบลอตแรก 548 คัน ยังรอการประเมินภาษีส่วนที่ขาดจากศุลกากร เมื่อใดที่ระบุชัดเจ้าของรถต้องนำมาจ่ายให้ครบ มิเช่นนั้นจะถูกระงับทะเบียนและตามยึดรถ เพื่อดำเนินการตรวจสอบรถจดประกอบที่เหลืออีก 6,027 คัน ในจำนวนดังกล่าว มีเบนซ์คลาสสิก หมายเลขทะเบียน ขม 99 กรุงเทพมหานคร รวมอยู่ด้วย ซึ่งรถคันนี้มีชื่อสมเด็จช่วงเป็นผู้แจ้งครอบครอง
กรณีนี้ รถหรูสมเด็จช่วง ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยดีเอสไอจะตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริงเฉพาะประเด็นการนำเข้ารถเบนซ์คลาสสิกว่า เป็นการแยกชิ้นส่วนนำเข้าจริงหรือนำเข้าทั้งคันเพื่อเลี่ยงภาษี, ราคา 1 ล้านบาทเศษที่สำแดงประกอบการประเมินภาษีตรงตามราคาแท้จริงหรือไม่ เอกสารต่างๆที่นำมายืนยันตั้งแต่การสำแดงนำเข้าไปจนถึงการจดทะเบียนใช้งานรถยนต์เป็นเอกสารจริงหรือทำปลอมขึ้น และอู่ประกอบรถในเมืองไทยมีขีดความสามารถในการประกอบเบนซ์คลาสสิกอายุกว่า 60 ปี ที่ถูกถอดชิ้นส่วนบรรทุกลงเรือมาได้จริงหรือไม่
ซึ่งในประเด็นเหล่านี้ หากผลการตรวจสอบพบความผิด ผู้ซื้อหรือผู้ครอบครองมือสุดท้ายได้รับความคุ้มครองตามหลักบริสุทธิ์เพราะย่อมไม่รู้ว่าผู้ขายมีวิธีการนำเข้าอย่างไร แต่สิ่งที่ผู้ซื้อและผู้ครอบครองมือสุดท้ายต้องรับผิดชอบ คือชำระภาษีในส่วนที่ชำระไว้ขาด แล้วไปฟ้องแพ่งไล่เบี้ยเอากับผู้ขาย

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


กฎหมายป้องกันปราบปรามการทุจริต 

แท้จริงแล้วเอาอยู่ไหม?


ตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในประเทศไทย ให้ความสำคัญเรื่องเกี่ยวกับการลงโทษหรือเอาผิดการกระทำทุจริตมากขึ้น โดยการเพิ่มบาทบาทในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ในการใช้กฎหมายเพื่อลงโทษผู้กระทำผิด อย่างการเพิ่มอำนาจการทำงานให้กับ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) การตั้ง ป.ป.ท. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ) มาดูแลปัญหาคอร์รัปชันระดับเล็กๆ การมอบอำนาจให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ทำคดีพิเศษจำพวกคดีฮั้วประมูล รวมถึงการทำหน้าที่ของ สตง. (สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) ที่เดินหน้าตรวจสอบอย่างดุเดือด

ข้อสังเกตสำคัญประการหนึ่งของการปราบปรามทุจริตในประเทศไทยเห็น มุ่งเน้นไปที่ตัวผู้ทุจริต โดยเพิ่มบทลงโทษให้หนักขึ้น ซึ่งเรียงลำดับเหตุการณ์สำคัญได้ ดังนี้

ในปี พ.ศ.2542
การตรา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต บัญญัติบทลงโทษไว้ในหมวด 11 บทกำหนดโทษ (มาตรา 118-123) โดยระวางอัตราโทษไว้ครบทั้งโทษปรับ จำคุก และทั้งจำทั้งปรับ

การตรา พ.ร.บ. ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 บัญญัติบทลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่มีพฤติการณ์สมยอมกันในการเสนอราคาตามมาตรา 10-13 ซึ่งมาตรา 11-13 ระวางโทษไว้รุนแรงที่สุด คือ จำคุกตลอดชีวิต และปรับสูงสุด 400,000 บาท อย่างไรก็ดี น่าสนใจว่าอัตราโทษของกฎหมายฉบับนี้มีโทษจำคุกและโทษปรับ แต่จะไม่มีโทษทั้งจำทั้งปรับเหมือนกับกฎหมาย ป.ป.ช.

              ต่อมา ในปี พ.ศ.2554
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอเสนอปรับปรุง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 นับเป็นการแก้ไขกฎหมายครั้งที่ 2 โดยบัญญัติบทลงโทษเพิ่มจากมาตรา 123 เป็น มาตรา 123/1 ที่บัญญัติไว้ว่า กรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีอัตราโทษสูงสุด คือ การจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับสูงสุด 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ล่าสุด ในปีที่ผ่านมา พ.ศ.2558
สภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่าน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น เริ่มตั้งแต่ มาตรา 123/2 เพิ่มโทษการทุจริตสูงสุด คือ การประหารชีวิต มาตรา 123/6 เพิ่มบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์ รวมถึงมาตรา 74/1 เพิ่มเรื่องหยุดนับอายุความกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนี (ดูจากไซส์บาร์เพิ่มเติม)

http://thaipublica.org

ข้อมูลที่หยิบยกมา จะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. กลายเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริตภายใต้กฎหมายสำคัญ 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 ซึ่งบังคับใช้เพื่อป้องกันการทุจริต พบว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พยายามแก้ไขปัญหาทุจริตด้วยวิธีการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้กระทำการทุจริตผ่านการเพิ่มบทลงโทษซึ่งมีการปรับปรุงกฎหมายมาตั้งแต่ฉบับที่ 2 ปี 2554 และฉบับที่ 3 ปี 2558

ป.ป.ช แก้ไขกฎหมายฉบับใหม่ ปี 2558 โทษสูงสุดของการทุจริตคือการประหารชีวิต นอกจากนี้ยังเพิ่มต้นทุนผู้ทุจริตด้วยการริบทรัพย์ และหยุดนับอายุความ กรณีที่ผู้ทุจริตหรือผู้ถูกกล่าวหาหลบหนี ต่างจากเดิมที่ โทษสูงสุดของกฎหมายป้องกันและประปราบการทุจริต คือจำคุกไม่เกิน 10 ปี

การปรับแก้กฎหมายให้มีการเพิ่มโทษที่รุนแรงขึ้น รวมถึงริบทรัพย์และหยุดอายุความกรณีที่ผู้กระทำผิดหลบหนี ถือได้ว่า เป็นตัวบ่งชี้ถึงผู้ที่ตัดสินใจจะกระทำผิดให้ มีการคิดก่อนลงมือกระทำผิด เนื่องจาก ต้นทุนสูงสุดของการทุจริต คือ การประหารชีวิตและถูกริบทรัพย์

ถึงแม้จะมีการปรับปรุงกฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าการกระทำการทุจิตในประเทศไทยจะลดลง เพราะ กระบวนการปราบปรามการทุจริตยังเป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่งเปรียบเสมือนช่องโหว่ให้ผู้กระทำความผิดได้มีเวลาหลบหนีออกนอกประเทศ หรือโยกย้ายทรัพย์ไปยังที่ต่างๆ สิ่งนี้อาจทำให้ผู้คิดจะทำการทุจริตไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายที่ตามมาและหันมาตัดสินใจทำกันมากขึ้น อย่างคดีความของแคลิฟอเนียว้าวที่มีการยืดเยื้อมาเป็นระยะเวลานานหลายปี ปัจจุบันคดีความนี้ ก็ยังไม่ได้รับการตัดสินพิจารณาคดีหาข้อสรุป